;
การประเมินความสามารถในการทำงาน( Functional Capacity evaluation ) เป็นการประเมินความสามารถในการทำงานหรือกิจกรรมของผู้ป่วย ที่มีความสัมพันธ์กับง านที่ผู้ป่วยประกอบอาชีพอยู่ คู่มือ “Dictionary of Occupational Titles” ซึ่งตีพิมพ์โดยภาคแรงงานของสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งการทำงานของร่างกายพื้นฐานที่ต้องใช้ในการทำงานต่างๆออกเป็น 20 functions ดังนี้
|
|
การประเมินควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยต้องมีการซักประวัติทั่วไป มีข้อมูลผลการรักษา ,การตรวจร่างกายและประเมินสภาพจิตใจรวมถึงแรงจูงใจในการทำงานของผู้ป่วยแต่ละคน
แพทย์ต้องทำการประเมิน Functional capacity ของผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงานเพื่อไม่ให้สภาพร่างกายหรือจิตใจที่ไม่พร้อมของผู้ป่วย ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู ้ป่วยเองหรือต่อเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นข้อมูลความเจ็บป่วยและการรักษาโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมินก่อนทำการตรวจวัด Functional capacity
ปัญหาด้านสภาพจิตใจก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับสภาพร่างกาย เนื่องจากมีผลกระทบต่อ work ability หลังจากปัญหาด้านร่างกายและจิตใจถูกแก้ไขแล้ว แพทย์อาจใช้คำถามกับผู้ป่วยถึงความพร้อมในการกลับเข้าทำงานโดยคำนึงถึงการเคารพสิทธิผู้ป่วยเป็นหลัก แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวอาจมีบทบาทในการร่วมประเมิน สภาพร่างกาย จิตใจ ความเจ็บปวด และปัญหาด้านอื่นๆของผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมเพื่อนำมาพิจารณาในการประเมินการกลับเข้าทำงาน
วัตถุประสงค์ในการประเมิน Functional capacity
การประเมินความสามารถในการทำงานก่อนกลับเข้าทำงาน จะมีการประเมินหลายด้าน และดูความทนทานในงานที่จำเพาะกับงานที่ผู้ป่วยทำ เช่น การยกของ,การยกเหนือศีรษะ ,ความคล่องแคล่วของมือ โดยเน้นให้ผู้ป่วยกลับเข้าไปทำงานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งการประเมิน FCE นั้นจะเน้นดู tolerance และcapacity ของผู้ป่วย การประเมิน FCE มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การติดตามผลการกายภาพ ,การประเมินสมรรถภาพ เพื่อให้คำแนะนำในการรักษา
องค์ประกอบของการประเมิน Functional capacity
การประเมิน FCE มีหลายส่วน แพทย์จึงควรทำความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ เช่น ผู้ประเมิน ,กระบวนการประเมิน , ผลการประเมิน รวมถึง การแปลผล
ผู้ประเมิน
ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานว่าใครสามารถประเมิน FCE ได้ ดังนั้นผู้ที่จะมาประเมินอาจเป็นได้ทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยที่เข้ารับการอบรม หรือนักกายภาพบำบัด โดยควรเป็นการประเมินในสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ ควรมีการเลือกผู้ที่ทำการประเมินและสถานที่ใช้ประเมินอย่างเหมาะสม เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการประเมินการกลับเข้าทำงานของผู้ป่วย หากแพทย์ไม่มีความคุ้นเคยกับสถานที่ กระบวรการประเมินและผู้ประเมิน FCE ควรส่งผู้ป่วยไปประเมินกับแพทย์ที่คุ้นเคยกับการประเมิน FCE เพื่อให้ได้ผลที่น่าเชื่อถือ
กระบวนการประเมิน
กระบวนการประเมินในผู้ป่วยแต่ละรายใช้เวลาไม่เท่ากัน โดยกระบวนการเริ่มจากผู้ป่วยต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ทำการตรวจ และได้รับคำอธิบายถึงวิธีการในการตรวจโดยละเอียด การประเมิน function บางอย่าง เช่น การนั่ง สามารถทำได้ในระหว่างการแนะนำตัว หรือ อธิบายรายละเอียด ในขณะที่บางอย่างต้องทำแยกออกมา เช่น การยก
American Medical Association’s (AMA’s) ได้แนะนำว่าควรให้มีการประเมิน MET ร่วมในการประเมินความสามารถในการทำงานด้วย โดย MET ย่อมาจาก Metabolic Equivalent of Task โดยจะแสดงตัวเลขเป็นจำนวนเท่าของพลังงานที่ร่างกายใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ เปรียบเทียบกับพลังงานที่ใช้ในขณะพัก กำหนดให้พลังงานที่ใช้ในขณะพัก คือ 1MET เช่นการทำงานนั่งโต๊ะ ใช้พลังงานเป็น 2เท่าของขณะพัก ดังนั้นความหนักของการทำงานนั่งโต๊ะจึงเท่ากับ 2 MET
ในระหว่างทำการตรวจ FCE หากต้องทำการหยุดตรวจไม่ว่าด้วยเหตุผลใดควรมีการบันทึกไว้ในรายงาน การตรวจร่วมกับผล vital signs ขณะนั้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่อิ่มขณะเดิน ซึ่งการบันทึกจะช่วย แพทย์ในการประเมินการกลับเข้าทำงาน
การยกแบบ isometric หรือการยกแบบเร็งกล้ามเนื้ออาจจะไม่สัมพันธ์กับการทำงานในชีวิตจริง จึงควรทำ ร่วมกับการวัด dynamic strength อาจเปลี่ยนจากการยกค้างไว้ เป็นยกของใส่ลัง เป็นต้น ซึ่ง protocol นี้จะใช้ การวัด maximum heart rate ตามเพศและช่วงอายุของผู้ป่วย ร่วมกับ vital sign อื่นๆ
การวัด grip strength ใน1 protocol ประกอบไปด้วย 5 ท่า โดยใช้ Jamar dynamometer ผลการตรวจที่ ผิดปกติ อาจมาจากอาการปวดของผู้ป่วย ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการปวดมากระหว่างการทดสอบ ควรมีการวัด vital signs และบันทึกเพื่อใช้ประเมินความสามารถในการทำงาน
การทรงตัว อาจประเมินในขณะผู้ป่วยทำการทกสอบอื่น เช่น การเดิน การวิ่งบนลู่วิ่ง หรือการยก
ผลการทดสอบและการแปลผล
การรายงานผล FCE ที่ดีควรมีรายละเอียดประกอบข้อจำกัดของผู้ป่วย เช่น ขณะทำกิจกรรมยกผู้ป่วยมี อาการปวดมาก หรือ หากผู้ป่วยไม่สามารถยกของที่หนัก 10 กิโลกรัมได้ vital sign ในขณะยกของผู้ป่วย เป็นอย่างไร เพื่อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยได้พยายามทำอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ควรมีคำแนะนำในการกลับเข้าทำงานใน รายงานด้วย
การตรวจ FCE จะต้องมีทั้ง Validity หรือ ความถูกต้องของการตรวจ FCE คือการสามารถบอกถึงสิ่งที่ ต้องการประเมินได้ และมี Reliability คือมีความแม่นยำเชื่อถือได้ ถึงจะกระทำโดยผู้ตรวจคนอื่น
ได้มีการศึกษา sensitivity และ specificity ของ การตรวจFCE โดย Lemstra และคณะ พบว่าเมื่อ ใช้FCE วัด maximum กับ submaximum effort จะมีsensitivity 65 % ส่วน specificity อยู่ที่ 84% และพบว่าหากผู้ป่วยทำการทดสอบอย่างไม่เต็มที่ ผู้ทำการทดสอบอาจจะวัดผลไม่ได้ และ ทำให้การประเมินความสามารถ ในการทำงานคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของ Gross และคณะ ที่ศึกษา validity ของ Isernhagen FCE protocol เพื่อใช้ทำนายเวลาในการกลับเข้าทำงาน พบว่ามีผู้เข้าร่วมจำนวนน้อยที่สามารถผ่าน protocol ทั้งหมด และแม้ว่าผู้ป่วยจะกลับเข้าทำงาน แต่จากการfollow-up พบว่ามี reinjury 20% แต่อาจจะเป็นผลจากจำนวนผู้เข้าร่วมมีไม่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามการประเมิน FCE ร่วมกับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และข้อมูลการรักษา ก็มีประโยชน์ในการช่วยแพทย์ประเมินการกลับเข้าทำงานของผู้ป่วยได้
การใช้ FCE ในการประเมิน return to work เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น สิ่งสำคัญคือประวัติ การตรวจร่างกาย และข้อมูลการรักษา และการเคารพในความสามารถในการทำงานของผู้ป่วยแต่ละคน